มรดกโลก/ผลการเลือกตั้ง

มรดกโลก คืออะไร?

          มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลก



ข้อกำหนดเกณฑ์การพิจารณาเข้าเป็นสมาชิกมรดกโลก

จนถึงปี พ.ศ. 2548 มีเกณฑ์การพิจารณาอยู่ทั้งหมด 6 เกณฑ์ของมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 เกณฑ์สำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติ  

หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม




  • เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด








  • เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์ สถานประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ บนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม








  • เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ








  • เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื้อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา








  • มีความคิด หรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์







  • หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ




  • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก








  • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทาง ธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขึ้นบันได








  • เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา








  • เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ใน สภาวะอัตตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวษอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลก ให้ความสนใจด้วย









  • มรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้ว

                แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ได้แก่
    1. โบราณคดีของเกาะ Meroe ซูดาน
    2. ป้อมปราการราชวงศ์โฮปลายศตวรรษที่ 14 เวียดนาม
    3. พื้นที่กาแฟภูมิทัศน์วัฒนธรรมของโคลัมเบีย
    4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ Serra de Tramuntana สเปน
    5. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ Al Ain สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
    6. โรงงาน Fagus เยอรมนี
    7. สถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ศตวรรษที่ 18 -19 บาเบร์ดอส
    8. Longobards อิตาลี ประกอบด้วย 7 กลุ่มของอาคารที่สำคัญ
    9. เสาเข็มยุคก่อนประวัติศาสตร์รอบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สโลวิเนีย และสวิสเซอร์แลนด์
    10. นิเวศวิทยา การประมงและรวบรวมหอยมีชีวิตและการใช้ของมนุษย์อย่างยั่งยืน เซเนกัล
    11. สวนเปอร์เซีย อิหร่าน
    12. ภูมิทัศน์ทะเลสาบวัฒนธรรมของหางโจว จีน
    13. วัดฮิไรซุมิ วัดที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ ญี่ปุ่น
    14. Konso ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เอธิโอเปีย
    15. มอมบาซา เคนยา
    16. คอมเพล็กซ์มัสยิด Selimiye Edirne ตุรกี
    17. ภาพแกะสลักหินและอนุสาวรีย์ศพของวัฒนธรรมในมองโกเลีย อัลไต 12,000 ปีที่ผ่านมา
    18. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกษตรเมดิเตอร์เรเนียน ฝรั่งเศส
    19. อนุสาวรีย์แสดงการเปลี่ยนแปลงจากบาร็อคกับสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค นิคารากัว
    20. สถาปัตยกรรมสไตล์เช็ก ยูเครน และ
    21. หมู่บ้านแบบโบราณในภาคเหนือของซีเรีย




          แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้แก่
    1. นิงกาลูโคสต์ แนวปะการัง ออสเตรเลีย
    2. หมู่เกาะโอกาซาวาร่า( Ogasawara) ซึ่งมีเกาะมากกว่า 30 เกาะ รวมความหลากหลายของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ค้างคาว ญี่ปุ่น
    3. ทะเลสาบเคนยา และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบผสม ได้แก่ ทะเลทรายวาดิรัม พื้นที่คุ้มครอง จอร์แดน นอกจากนี้ มีพื้นที่ขยายที่ขึ้นทะเบียนอีก 1 แห่ง ป่าไม้บีชดึกดำบรรพ์คลุมเยอรมนี สโลวาเกีย และยูเครน




     
    เหตุใดไทยจึงถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลก?

    การที่รัฐบาลไทยประกาศถอนตัวจากการเป็นภาคี คณะกรรมการมรดกโลก เพราะไม่ต้องการให้มีการพิจารณาแผนขึ้นทะเบียนของฝ่ายกัมพูชาหากมีการประชุมแผนของกัมพูชาเมื่อไร ’สุ่มเสี่ยง“ ที่ไทยจะเสียดินแดน การถอนตัวที่ว่า เพราะต้องการแสดงออกว่าไม่ยอมรับและการถอนตัว เพราะไม่ต้องการให้ผลผูกพันใด ๆ หากคณะกรรมการมรดกโลก มีมติอย่างหนึ่งอย่างใดออกมา

    นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า "การที่ไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพันต่อประเทศไทย หมายความว่าทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ

    การถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกอนุสัญญาการคุ้มครองมรดกโลกนั้น ไม่มีข้อเสีย มีแต่ข้อดี เพราะทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลก ถ้าเรายอมรับตามแผนบริหารจัดการดังกล่าว ก็เท่ากับว่ายินยอมเห็นชอบ ทำให้กัมพูชาหยิบยกเป็นข้ออ้างเป็นหลักฐานไปสู้คดีในศาลโลกได้ ไม่ถือว่าการเดินทางไปครั้งนี้ปฏิบัติหน้าที่ล้มเหลว เราทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยไทยอย่างเต็มที่

    อย่างไรก็ตาม การถอนตัวจากสมาชิกภาคีอนุสัญญาฯ ไม่มีผลต่อมรดกโลกของไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่จะมีผลกับสิ่งที่ขอขึ้นทะเบียนใหม่เท่านั้น ทั้งนี้ แหล่งมรดกโลกจะถูกถอดถอนหากไม่ดูแลรักษาตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการมรดกโลก"







    รายงานผลการเลือกตั้ง ปี 2554


                                                           


    พรรคการเมืองกทมกลางใต้เหนืออีสานปาร์ตี้ลิสต์รวม
    33 เขต96 เขต53 เขต67 เขต126 เขต125500
    1 เพื่อไทย104104910461265
    10 ประชาธิปัตย์2325501344159
    16 ภูมิใจไทย0131213534
    21 ชาติไทยพัฒนา011121419
    2 ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน0001427
    6 พลังชล0600017
    5 รักประเทศไทย0000044
    26 มาตุภูมิ0010012
    12 รักษ์สันติ0000011
    30 มหาชน0000011
    3 ประชาธิปไตยใหม่0000011








    สถิติการเลือกตั้ง
    ระบบบัญชีรายชื่อ
    ระบบแบ่งเขต
    ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
    46,921,682 คน
    ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
    46,921,777 คน
    มาใช้สิทธิ
    35,203,107 คน
    มาใช้สิทธิ
    35,119,885 คน
    (ร้อยละ)
    75.03%
    (ร้อยละ)
    74.85%
    บัตรเสีย
    1,726,051 ใบ
    บัตรเสีย
    2,039,694 ใบ
    (ร้อยละ)
    4.9%
    (ร้อยละ)
    5.79%
    โหวตโน
    958,052 ใบ
    โหวตโน
    1,419,088 ใบ
    (ร้อยละ)
    2.72%
    (ร้อยละ)
    4.03%
    ผลการเลือกตั้งและจำนวน ส.ส.
    พรรคการเมือง
    คะแนน
    ส.ส.บัญชีรายชื่อ
    จำนวน ส.ส.
    บัญชีรายชื่อ
    จำนวน ส.ส.
    แบบแบ่งเขต
    จำนวน ส.ส. รวม
    เพื่อไทย
    (พท.)
    15,744,190
    61
    204
    265
    ประชาธิปัตย์
    (ปชป.)
    11,433,762
    44
    115
    159
    ภูมิใจไทย
    (ภท.)
    1,281,577
    5
    29
    34
    ชาติไทยพัฒนา
    (ชทพ.)
    906,656
    4
    15
    19
    ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)
    494,894
    2
    5
    7
    พลังชล
    (พช.)
    178,110
    1
    6
    7
    รักประเทศไทย
    (ร.ป.ท.)
    998,603
    4
    -
    4
    พรรคมาตุภูมิ
    (มภ.)
    251,702
    1
    1
    2
    พรรครักษ์สันติ
    (รส.)
    284,132
    1
    -
    1
    พรรคมหาชน (พมช.)
    133,772
    1
    -
    1
    พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.)
    125,784
    1
    -
    1
    หมายเหตุ: ในส่วนของ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ กกต. ใช้ค่าเฉลี่ย 260,193 คะแนน ต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน โดยการหาค่าเฉลี่ยรอบแรกได้ ส.ส. 115 คน จากนั้นนำมาหาค่าเฉลี่ยครั้งที่ 2 จึงได้ ส.ส. อีก 10 คน รวม 125 คน




    พรรคร่วมรัฐบาล
    1. พรรคเพื่อไทย ส.ส. 265 คน
    2.พรรคชาติไทยพัฒนา ส.ส. 19 คน
    3. พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ส.ส. 7 คน
    4.พรรคพลังชน ส.ส. 7 คน
    5.พรรคมหาชน ส.ส. 1 คน
    6.พรรคประชาธิปไตยใหม่ ส.ส. 1 คน
    รวมพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค ส.ส. 300 คน


    พรรคฝ่ายค้าน
    1. พรรคประชาธิปัตย์ ส.ส. 159 คน
    2. พรรคภูมิใจไทย ส.ส. 34 คน
    3. พรรครักประเทศไทย ส.ส. 4 8o
    4. พรรคมาตุภูมิ ส.ส. 2 คน
    5. พรรครักสันติ ส.ส. 1คน
     รวมพรรคฝ่ายค้าน 5 พรรค ส.ส. 200 คน